วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559



 หน่วยที่ 10
 
 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 
 
 
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
                
            พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.. 2550 เป็นพระราชบัญญัติที่สำคัญอย่างมากในวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ล้วนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น






พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
                
                 มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ .. ๒๕๕๐
                 มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                 มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
                  “ระบบคอมพิวเตอร์ หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                  ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้
                  ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของการบริการ
                
                   ผู้ให้บริการหมายความว่า
                   (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                   (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ผู้ใช้บริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
                   มาตรา ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 
 
 
 
หมวด ๑
 
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
                   

                   มาตรา ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    มาตรา ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
                    มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
                    (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
                    (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
                    ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
                    มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
                    มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
                    (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
                    (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
                    (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
                    (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
                    (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
 
                    มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
                    มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  
                    มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
                    (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
                    (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
 
 
 
หมวด 2
 
พนักงานเจ้าหน้าที่
                   
                   มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับ มาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
                    (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
                    (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    (๓) สั่งให้ผู้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                    (๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
                    (๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                    (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
                    (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
                    (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
                    มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง
                    มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
                    มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้
                    มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
                    พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
                    มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
                    มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
                    มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีก ไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ให้ถูกต้อง
                    มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
                    มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษและมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
                    มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา





อ้างอิง
https://sites.google.com/site/pornthaweenaka/na-senx-khxmul-dwy-tnxeng/hnwy-thi-1-khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-sangkhm-xxnlin/hnwy-thi-2-kar-chi-xinthexrnet-ni-ngan-thurkic/hnwy-thi-3-kar-khnha-khxmul-dwy-search-engin/hnwy-thi-4-kar-rab-sng-khxmul-kherux-khay-xinthexrnet/hnwy-thi-5-kar-chi-brikar-thi-mi-xyu-bn-sangkhm-xxnlin/hnwy-thi-6-por-eke-rm-cadkar-sarsnthes-swn-bukhkhl/hnwy-thi-7-kar-reiyn-ru-rabb-kherux-khay-xinthexrnet/hnwy-thi-8-kar-px-ngkanelea-ka-cawi-ras/hnwy-thi-9-criy-thr-rm-laea-kt-hmay-thi-ki-yw-khxng-kab-kar-chi-xinthexrnet/hnwy-thi-10-phra-rach-bayyati-wa-dwy-kark-ra-thakhwam-phid-keiyw-kab-khxmphiwtexr

จัดทำโดย
นางสาวจีรภา คัชมาตย์ บช.1/2 เลขที่ 07
นางสาวยวิษฐา อ่อนสุด บช.1/2 เลขที่ 22






วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

 

 

 

หน่วยที่ 9 : จริยธรรมและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต

 
 
 

ความหมายของจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต


  หมายถึง หลักการที่มนุษย์ในสังคมยึดถือปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคม สรุปได้ 4 ประเด็น ดังนี้
    1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
    2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
    3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
    4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

 

 


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต


1. จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
    - ตรวจสอบจดหมายให้บ่อยครั้ง
    - ลบข้อความที่ไม่ต้องการออกจากระบบกล่องจดหมาย
2. จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา
    - ควรสนทนากับผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย
    - ควรใช้วาจาสุภาพ
3. จรรณาบรรณสำหรับผุ้ใช้กระดานข่าว เว็บบอร์ด หรือสื่อทางข่าวสาร
    - เขียนเรื่องให้กระชับ
    - ไม่ควรคัดลอกจากที่อื่น
4. บัญญัติ  10  ประการ

อินเทอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย

ผลกระทบทางบวก
    - ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน
    - ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ผลกระทบทางลบ
    - ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม
    - เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ต


        - ลิขสิทธิ์ (Copyright)
        - งานอันมีลิขสิทธิ์
        - การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
        - การคุ้มครองลิขสิทธิ์
        - ประโยชน์ต่อผู้บริโภค

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์


        ในประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2538
        พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความหมายของคำว่า "ลิขสิทธิ์" ว่า หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำการใดๆ
*การละเมิดลิขสิทธิ์
    - การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง คือ การทำซว้ำดัดแปลง
    - การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม คือ การกระทำทางการค้า

คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ของผู้สำเร็จการศึกษาตามระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษา


      1. รับผิดชอบ                 2. ขยัน
      3. ประหยัด                   4. ซื่อสัตย์
      5. จิตอาสา                   6. สามัคคี
      7. มีวินัย                      8. สะอาด
      9. สุภาพ                     10. ละเว้นอาบายมุข
 
 
 

จัดทำโดย

 
นางสาวจีรภา คัชมาตย์ เลขที่07  บช.1/2
 
นางสาวยวิษฐา อ่อนสุด เลขที่22  บช.1/2
 
 
 

อ้างอิง

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559





ใบงานที่ 8
 
การป้องกันและการกำจัดไวรัส
 
 
   
 
 
 
 
ความหมายของไวรัส (Virus)
           
    ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบ

อมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจาก

การนำเอาไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง
    



ประเภทของไวรัส
              

    ไวรัสมีอยู่หลายประเภท โดยแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
             
1.ไฟล์ไวรัส (File Virus)
             
 2.บู๊ตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Virus)                           
             
3.มาโครไวรัส (Macro Virus)
             
4.หนอนไวรัส (Worm)
             
5.โทรจัน (Trojan)





สปายแวร์ (Spyware)
               สปายแวร์ (Spyware) คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่กำลังทำงานบนอินเทอร์เน็ต เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง หรือดักจับข้อมูลการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
              
สปายแวร์ติดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
              
สปายแวร์จะติดได้หลายทางแต่หลักๆ คือ
               1.เข้าเยี่ยมเว็บไซต์ต่างๆ เมื่อเว็บไซต์บอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรม ก็ดาวน์โหลดโดยที่ไม่รู้ว่าคืออะไร
               2.ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีที่เรียกว่า Freeware มาใช้ โปรแกรมฟรีนั้นมีใช้ก็ดี แต่ก็ควรดูให้ดีเพราะโปรแกรมฟรีหลายตัวจะมีสปายแวร์ติดมาด้วย
               3.เปิดโปรแกรมที่ส่งมากับอีเมล บางครั้งมีผู้ที่ส่งอีเมลมาให้พร้อมโปรแกรมสวยงาม โดยที่ไม่รู้ว่ามีสปายแวร์อยู่ด้วย ก็ส่งต่อๆ กันไป
                 
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสปายแวร์
                 1.มี Pop up ขึ้นมาบ่อยครั้งที่เข้าเว็บ
                 2.ทูลบาร์ (Toolbar) มีแถบปุ่มเครื่องมือเพิ่มขึ้น
                 3.หน้าจอ (Desktop) มีไอคอน (Icon) แปลกๆ เพิ่มขึ้น
                 4.เมื่อเปิดเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หน้าเว็บแรกที่พบแสดงเว็บไซต์ที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยพบเห็นมาก่อน
                 5.เว็บไซต์ใดที่ไม่สามารถเข้าได้ หน้าเว็บไซต์โฆษณาของสปายแวร์จะมาแทนที่
                
วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
                 1.ติดตั้งโปรแกรม Anti- Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Anti- Spyware สามารถตรวจสอบค้นหาสิ่งแปลกปลอม (Spyware) ที่จะเข้าฝังตัวอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรม Anti- Spyware จะทำหน้าที่ตรวจสอบเป็นลักษณะเรียลไทม์
                 2.ไม่ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ควรจะดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
                 3.เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งและพบหน้าจอที่ผิดปกติ ให้พิจารณาอ่านข้อความเพื่อตรวจสอบเงื่อนไขการใช้งานก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ต่อไป
การป้องกันสปายแวร์และซอฟต์แวร์ที่ไม่พึงประสงค์
                  คอมพิวเตอร์มีปัญหาใช้งานไม่ได้ วิธีการช่วยป้องกันคอมพิวเตอร์จากสปายแวร์และซอฟต์แวร์ที่ไม่พึงประสงค์          ต่างๆ มีดังนี้
                  ขั้นตอนที่ 1: อัพเดตซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่
                  ขั้นตอนที่ 2: ปรับแต่งตัวแปรระบบรักษาความปลอดภัยของ Internet Explorer
                  ขั้นตอนที่ 3: ใช้ไฟร์วอลล์ (Firewall)
                  ขั้นตอนที่ 4: ท่องเว็บไซต์และดาวน์โหลดข้อมูลอย่างรอบคอบ
 
 











วิธีการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
                 

     วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ ให้ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส แล้วทำการอัพเดตไวรัสอย่างสม่ำเสมอ และให้ทำการสแกนไวรัสเป็นประจำ มีข้อที่ควรปฏิบัติในการป้องกันไวรัส ดังนี้
                   1.ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส และอัพเดตไวรัสอยู่เสมอ
                   2.ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะสมกับระบบปฏิบัติการของเครื่อง
                   3.สร้างแผ่น Emergency Disc หรือแผ่น Boot CD/USB เพื่อใช้ในการกู้ระบบ
                   4.อัพเดตข้อมูลไวรัสของโปรแกรมทุกวัน หรือทุกครั้งที่โปรแกรมแจ้งเตือนให้อัพเดต
                   5.เปิดใช้งาน auto-protect ถ้าโปรแกรมสนับสนุน
                   6.ตรวจสอบหาไวรัสทุกครั้งก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นหรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
                   7.ใช้โปรแกรมเพื่อทำการตรวจหาไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์











โปรแกรมที่นิยมใช้ในการป้องกันไวรัส
                   1. AVG Antivirus Free Edition 2011
                    2. Avira AntiVir Personal Free Edition     
                    3. A vast Free Antivirus
                    4. PC Tools AntiVirus Free
                    5. Microsoft Security Essentials
                    6. ThreatFire AntiVirus Free Edition                   
                    7. Emsisoft Anti-Malware 5.0
                    8. Panda Cloud Antivirus Free
                    9. Multi Virus Cleaner 2009
                   10. A vast-Virus Cleaner and Worm Removal Tool
                   11. Baidu Antivirus 2014













อ้างอิง

https://sites.google.com/site/pornthaweenaka/na-senx-khxmul-dwy-tnxeng/hnwy-thi-1-khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-sangkhm-xxnlin/hnwy-thi-2-kar-chi-xinthexrnet-ni-ngan-thurkic/hnwy-thi-3-kar-khnha-khxmul-dwy-search-engin/hnwy-thi-4-kar-rab-sng-khxmul-kherux-khay-xinthexrnet/hnwy-thi-5-kar-chi-brikar-thi-mi-xyu-bn-sangkhm-xxnlin/hnwy-thi-6-por-eke-rm-cadkar-sarsnthes-swn-bukhkhl/hnwy-thi-7-kar-reiyn-ru-rabb-kherux-khay-xinthexrnet/hnwy-thi-8-kar-px-ngkanelea-ka-cawi-ras



จัดทำโดย

นางสาวจีรภา คัชมาตย์

นางสาวยวิษฐา อ่อนสุด








วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559






 ใบงานที่ 6
 
 
 
โปรแกรมจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
 
 
 
 
 
 
 
 
  ความหมายของโปรแกรมจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
 
 
     การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล หมายถึง การพัฒนากลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการกับสารสนเทศที่ได้รับ อาจจะอยู่ในรูปแบบของการจัดเก็บ การดูเเลรักษา การสืบค้น การเเสดงผล และการกำจัดสารสนเทศที่ไม่ต้องการ
    สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารทุกประเภทที่ได้รับ อาจอยู่ในรูปแบบของภาพนิ่ง ตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว เสียง ซึ่งอาจมีแหล่งที่มาต่างๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร สื่อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
    ส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีความต้องการ หรือความจำเป็นในการใช้สารสนเทศหนึ่งๆ ในการประกอบกิจการงานหรือการดำรงชีวิตประจำวัน

ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
   
   ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล มีเเนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนด้านสารสนเทศสำหรับบุคคนที่เป็นเเนวคิดใหม่ที่ต้องอาศัยทักษะหลายด้าน โดยเฉพราะอย่างยิ่งทักษะด้านการจัดการ ทั้งนี้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการประกอบกิจการงานเเละการดำรงชีวิตในยุคการเปลี่ยนเเปลงดังเช่นปัจจุบันเเนวคิดนี้เรียกว่า การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล


 
 
องค์ประกอบของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
    
     องค์ประกอบของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล เมื่อพิจารณาตามโครงสร้างของระบบที่ใช้จัดการฐานข้อมูลเเล้ว พบว่าองค์ประกอบที่เหมือนกันคือ
    ส่วนรับเข้า เเบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ
  • ความต้องการด้านสารสนเทศของผู้ใช้
  • ข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ
    ส่วนประมวลผล หมายถึง กลไกลที่ทำหน้าที่ในการจัดหมวดหมู่หาสถานที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลเพื่อสามารถนำออกมาใช้ได้ การจัดวิธีการเข้าถึงข้อมูล
    ส่วนเเสดงผล เป็นส่วนที่มีความสำพันธ์มากระดับหนึ่ง คือ ผู้ใช้จะพึงพอใจระบบมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลลัพธ์ ความต้องการเเละวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ระบบเป็นหลัก



ประเภทของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
    
 
    ประเภทของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล จำเเนกตามรูปลักษณ์เเบ่งออกได้ดังนี้
  1.ประเภทโปรเเกรมสำรูป เช่น โปรแกรมบริหารบุคคล โปรเเกรมระบบบัญชีเงินเดือน
  2.ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ในลักษณะใช้งานอิสระและผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์การ
  3.ฟังก์ชันการทำงานหลัก ได้เเก่ ฟังก์ชันนัดหมาย ฟังก์ชันติดตามงาน ฟังก์ชันติดต่อสื่อสาร
  4.โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในงานสำนักงานทั่วไป เช่น โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรเเกรมเอ็กซ์เซล โปรแกรมเพาเวอร์พอยท์
 
 
ระบบนัดหมายส่วนบุคคล
   
  เป็นโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ที่พบในระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล มีประโยชน์ดังนี้
  1.การใช้ระบบ
  2.เป็นระบบทีใช้งานง่าย
  3.ระบบมีการบันทึกข้อมูลเเบบลัด
  4.การค้นหาข้อมูล (Search) สามารถทำได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือ รายปี และสามารถใช้ฟังก์ชั่นทำซ้ำ
  5.หากมีกิจกรรมมากกว่าหนึ่งกิจกรรมซ้ำซ้อนในเวลาเดียวกัน ระบบจะเตือนให้ผู้ใช้ทราบเพื่อเเก้ไขปัญหา
  6.มีสัญญานเตือนกันนัดหมาย
  7.มีระบบช่วยจำ
  8.ป้อนข้อความเตือนความจำเข้าสู่ระบบนัดหมายส่วนบุคคลโดยอัตโนมัติ
  9.มีหน้าต่างเเสดงความจำเเสดงขึ้นที่หน้าจอภาพ เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือพีดีเอ
  10.ส่งข้อความเตือนความจำผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
  11.เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการนัดประชุม

 
 
 
ระบบการติดตามงานส่วนบุคคล
    
    ส่วนหนึ่งของโปรเเกรมการบริหารจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลที่นิยมใช้ คือ ระบบการติดตามงานส่วนบุคคล เพราะมีประโยชน์ในการติดตามเพื่อให้งานประสบผลสำเร็จ ซึ่งระบบการติดตามงานส่วนบุคคลมีรายละเอียดเกี่ยวกับโปรเเกรมดังนี้
  1.ระบบติดตามงานส่วนบุคคลเป็นโปรเเกรมอรรถประโยชน์เช่นเดียวกับนาฬิกาปลุกเเละเครื่องคิดเลข
  2.ระบบติดตามงานบุคคล หมายถึง บัญชีรายงานที่ยังไม่ได้ดำเนินการ มีลักษณะคล้ายสมุดจดบันทึกช่วยจำที่เป็นกกระดาษ
  3.ระบบติดตามงานส่วนบุคคลเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการบริหารงานและเวลาของเเต่ละบุคคลโดยเฉพราะผู้มีภารกิจมาก
  4.ปัญหาที่พบในการบริหารเวลาของตนเอง คือ ความพยายามที่จะทำงานหฃายอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว
  5.มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง จึงต้องทำงานเเบเร่งรีบในช่วงเวลาสุดท้าย
 
 
พัฒนาการของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
    
    ในขณะที่ใช้ระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล  หมายถึง การพัฒนาการบริหารการจัดการจากในรูปแบบของกระดาษมาใช้เป็นระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมีลักษณะของการพัฒนาการ ดังนี้
    1.ระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลในรูปแแบกระดาษที่มีมาตั้งเเต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน
    2.ระบบสารสนเทศส่วนบุคคลในรูปเเบบคอมพิวเตอร์
    3.ระบบการจัดการสารสนเทศของกลุ่ม
 
 
เกณฑ์การเลือกระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
   
   การพิจารณาเป้าหมายส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับชีวิตการทำงานเเละชีวิตส่วนตัว  และเป้าหมายขององค์กรรวมทั้งลักษณะ  ประเภท และนโยบายหลักขององค์กร มีเกณฑ์การเลือกระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล ดังนี้
   1.ความต้องการด้านสารสนเทศ
   2.ความต้องการระบบนัดหมายส่วนบุคคลหรือระบบนัดหมายกลุ่ม
   3.ความต้องการระบบติดตามงานหรือไม่
   4.ความต้องการระบบติดต่อสื่อสารในลักษณะใด
   5.สภาพเเวดล้อมในการทำงาน
   6.การทำงานในลักษณะคนเดียวหรือกลุ่ม
   7.การทำงานภายในหรือภายนอกองค์กร
   8.การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น
   9.ความสามารถในการทำงาน
  10.ราคา
  11.ความยากง่ายในการทำงาน
  12.การสนับสนุนด้านเทคนิค
  13.การรับฟังความคิดเห็น
  14.การทดลองใช้ระบบ




อ้างอิง

https://sites.google.com/site/pornthaweenaka/na-senx-khxmul-dwy-tnxeng/hnwy-thi-1-khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-sangkhm-xxnlin/hnwy-thi-2-kar-chi-xinthexrnet-ni-ngan-thurkic/hnwy-thi-3-kar-khnha-khxmul-dwy-search-engin/hnwy-thi-4-kar-rab-sng-khxmul-kherux-khay-xinthexrnet/hnwy-thi-5-kar-chi-brikar-thi-mi-xyu-bn-sangkhm-xxnlin/hnwy-thi-6-por-eke-rm-cadkar-sarsnthes-swn-bukhkhl

จัดทำโดย

นางสาวจีรภา คัชมาตย์ บช.1/2 เลขที่ 07

นางสาวยวิษฐา อ่อนสุด บช.1/2 เลขที่ 22